ทักษะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ และทักษะที่เกี่ยวข้อง
1. ทักษะทางวิชาชีพของบรรณารักษ์ นอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางวิชาชีพแล้ว ประสบการณ์และทักษะในการปฏิบัติงานยังเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้การบริการและเผยแพร่สารสนเทศประสบผลสำเร็จด้วยดี การจัดบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้นั้น เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยศิลปะและกลยุคที่แยบยล การฝึกฝนล้วนเป็นสิ่งที่ช่วยให้บรรณารักษ์เกิดความมั่นใจในการบริการมากขึ้นบรรณารักษ์ห้องสมุด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ จำแนกออกเป็น 2 ด้าน
1.)ความสารมารถด้านวิชาชีพ คือ ความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิชาชีพ
2.) ความสามารถเฉพาะบุคคล (personal competencies) คือ ทักษะ ทัศนคติและคุณค่าที่แต่ละบุคคลมีเพื่อเสริมให้การทำงานในวิชาชีพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บรรณารักษ์ผู้ที่ทำงานในห้องสมุดก็ต้องมีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่ผู้ใช้ให้ผู้ใช้ได้สิ่งที่ต้องการมากที่สุดซึ่งห้องสมุดเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในโลกของยุคเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะต้องมีการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งระบบงานของห้องสมุดและตัวบรรณารักษ์เอง เราจึงต้องทำตัวเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยและทันต่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไปความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์และนักสารสนเทศกลายเป็นประเด็นสำคัญ ของวิชาชีพสารสนเทศในยุคปัจจุบัน
3.ทักษะทางด้านภาษา การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงมีบทบาทสำคัญต่อการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ สำหรับการเป็นประชาคมอาเซียนที่ควรพัฒนามากที่สุดคือ สมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของโลกที่ใช้งานกันอยู่มากในปัจจุบัน และยิ่งบรรณารักษ์บริการมีหน้าที่ต้องติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บ่อยครั้ง หากมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษก็จะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ทั้งในแง่การให้บริการ การฝึกอบรมผู้ใช้ การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ฯลฯ
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2559). ทักษะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ และทักษะที่เกี่ยวข้อง. สืบค้น 25 เมษายน 2568, จาก https://lis.kpru.ac.th/?page_id=28&lang=TH
ข้อมูลอื่น ๆ
กิจกรรม "ความถนัดทางวิชาชีพครู และวิชาชีพทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ" ภายใต้โครงการ "การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตาม PLOs หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศึกษา"
เผยแพร่เมื่อ 10 มีนาคม 2568
กิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะและความถนัดทางวิชาชีพครู ภายใต้โครงการพัฒนาผู้เรียนและการบริหารจัดการหลักสูตร AUN-QA โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศึกษา
เผยแพร่เมื่อ 1 มีนาคม 2568
โครงการจิตอาสาพัฒนา "ห้องสมุด" โรงเรียนบ้านคลองตาล(กระจ่างจินดา) ต.คลองตาล อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2568
contents/gallery/2016.11.30/