ห้องสมุดยุค Thailand 4.0 : ความหมายของ Thailand 4.0
ในปัจจุบันประเทศไทยยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” จึงต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” ก็จะต้องเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” และเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วย ภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม อย่างการเกษตรก็ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ เปลี่ยนจาก SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูงเปลี่ยนจากรูปแบบบริการแบบเดิมซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่บริการที่มีมูลค่าสูงเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง
1.ความจำเป็นในการพัฒนาประเทศให้เป็น4.0
2.ประวัติของยุค thailand 1.0 – 4.0
Thailand 4.0 นี้จะเป็นการพูดถึง New S-Curve หรือก็คือ การพัฒนาเปลี่ยนแปลงใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งก็คล้าย ๆ กับการ Disruptive ที่เข้ามาพัฒนาสินค้าที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และล้มล้างพฤติกรรมแบบเดิม ๆ เหมือนอย่างเช่น ฟิล์ม Kodak ที่เคยรุ่งเรืองอยู่ในสมัยก่อน ใครจะไปคิดว่าสุดท้ายแล้วบริษัทยักษ์ใหญ่รายนี้จะถูกคลื่นลูกใหม่อย่างเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ต้องล้มหายไปจากความทรงจำของเด็กรุ่นใหม่ ทำให้ยุคสมัยนี้คนอาจจะไม่รู้จักกับ Kodak แต่รู้จักกับกล้องดิจิทัลแบรนด์ดัง ๆ อย่างอื่นแทน
Thailand 4.0 นับเป็นโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคนี้ที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมไปด้วยกัน ช่วยกันผลักดันไปพร้อม ๆ กัน สิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้โมเดลนี้ประสบความสำเร็จก็คือ ต้องคิดให้มาก คิดให้จบ อ่านให้ขาด ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง อย่ามัวแต่โทษกันเมื่อมีอะไรผิดพลาด เพราะทุกอย่างเปรียบเสมือนการเรียนรู้ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็เหมือนกับเราย่ำอยู่กับที่ ซึ่งด้วยกับโมเดล Thailand 4.0 นี้บวกกับพลังของคนในชาติ การเปลี่ยนแปลงจาก ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ ไปสู่ ‘ประเทศพัฒนาแล้ว’ คงไม่ใช่แค่เรื่องในความฝันอีกต่อไป
นายณรงค์ศักดิ์ วงษ์น้อย 571220701
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ห้องสมุดยุค Thailand 4.0 : ความหมายของ Thailand 4.0. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://lis.kpru.ac.th/?page_id=77&lang=TH
ข้อมูลอื่น ๆ
การอบรมเชิงปฏิบัติการและการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลงานสื่อ ด้วยโปรแกรม CANVA หัวข้อ “ห้องสมุดในฝัน” (แบบโปสเตอร์) โครงการ 50 ปี KPRU สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
เผยแพร่เมื่อ 27 มกราคม 2566
ภาพกิจกรรม การแข่งขันตอบปัญหาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน งาน “50 ปี KPRU” มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26 มกราคม 2566
กิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศึกษา ภายใต้งาน “50 ปี KPRU สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 12 มกราคม 2566
โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการและการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลงานสื่อ ด้วยโปรแกรม CANVA หัวข้อ “ห้องสมุดในฝัน” (แบบโปสเตอร์) โครงการ 50 ปี KPRU สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
เผยแพร่เมื่อ 12 มกราคม 2566