การใช้เครื่องมือ social network ในงานบริการยุคไทยแลนด์ 4.0
ความสำคัญกับการพัฒนาห้องสมุดอย่างต่อเนื่องในฐานะเป็นหัวใจหลักของงานบริการวิชาการ การพัฒนาได้เริ่มเปลี่ยนจากการพัฒนาในเชิงกายภายภายในขอบเขตของมหาวิทยาลัย เป็นการขยายขนาดทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยลดข้อจำกัดทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ และเวลา เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ที่มีผลกระทบจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ และต่างประเทศ ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่ความสำเร็จที่จะช่วยผลักดันให้มหาวิทยาลัยสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์
อย่างไรก็ตามการสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้ประสบความสำเร็จในระยะแรกจะต้องเป็นการให้มากกว่าการรับ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้พิจารณาถึงความสามารถหลักและทรัพยากรที่จะต้องนำออกเผยแพร่เพื่อให้สถาบัน หรือบุคคลสามารถเข้าใช้ได้ในลักษณะเปิด ดำเนินการสร้างและใช้เครื่องมือ เนื้อหา เพื่อรองรับการให้บริการโดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก รวมทั้งมีการประเมินประสิทธิผล ความสำเร็จและความล้มเหลวเพื่อการเรียนรู้และใช้ปรับแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
นางสาวจารุภา เฟื่องดี 571220702
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การใช้เครื่องมือ social network ในงานบริการยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้น 4 ตุลาคม 2567, จาก https://lis.kpru.ac.th/?page_id=82&lang=TH
ข้อมูลอื่น ๆ
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องสมุด ณ โรงเรียนบ้านคุยประดู่ ต.วังตะแบก อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร เพื่อให้บริการวิชาการและฝึกให้นักศึกษามีจิตอาสา มีมนุษยสัมพันธ์ มีทักษะในการทำงานเป็นทีม
เผยแพร่เมื่อ 31 สิงหาคม 2567
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การเขียนนิทานด้วยสื่อ AI" ตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน งานห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ ร่วมกับ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 30 สิงหาคม 2567
การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรปริญญาตรี ตามเกณฑ์ AUN-QA หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566
เผยแพร่เมื่อ 31 กรกฎาคม 2567