ลำดับ 1. ห้องสมุดยุค Thailand 4.0 : ความหมายของ Thailand 4.0
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 14,306 Share
Thailand 4.0 นับเป็นโมเดลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคนี้ที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วมไปด้วยกัน ช่วยกันผลักดันไปพร้อม ๆ กัน สิ่งสำคัญที่สุดในการทำให้โมเดลนี้ประสบความสำเร็จก็คือ ต้องคิดให้มาก คิดให้จบ อ่านให้ขาด ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง อย่ามัวแต่โทษกันเมื่อมีอะไรผิดพลาด เพราะทุกอย่างเปรียบเสมือนการเรียนรู้ ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็เหมือนกับเราย่ำอยู่กับที่ ซึ่งด้วยกับโมเดล Thailand 4.0 นี้บวกกับพลังของคนในชาติ การเปลี่ยนแปลงจาก ‘ประเทศกำลังพัฒนา’ ไปสู่ ‘ประเทศพัฒนาแล้ว’ คงไม่ใช่แค่เรื่องในความฝันอีกต่อไป
ลำดับ 2. ห้องสมุดในยุคไทยแลนด์ 4.0,ทรัพยากรสารสนเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 8,366 Share
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อหรือวัสดุที่ใช้เก็บบันทึกสารสนเทศ เราใช้วัสดุหลายรูปแบบในการบันทึก ทั้งนี้เนื่องจากสารสนเทศมีทั้งตัวอักษร ข้อความ รูปภาพ และเสียง ซึ่งอาจจัดกลุ่มทรัพยากรสารสนเทศได้เป็น 3 ประเภทคือ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม, 2549) 1. วัสดุตีพิมพ์ (printed materials) 2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (non-printed material) 3. ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic database
ลำดับ 3. การบริหารห้องสมุดยุคThailand 4.0 : อาคารและสถานที่ห้องสมุดยุคThailand 4.0
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 8,582 Share
สำหรับโครงการสร้างอาคารใหม่ แนวทางสมัยใหม่ที่นิยมมาก ที่สุดคือการสร้างพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่เปิดโล่งแก้ไขปัญหาความ ไม่แน่นอนบางประการที่กล่าวถึงในส่วนที่แล้ว รวมทั้งความ เป็นไปได้ในการแปลงโครงสร้างใหม่ได้อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด การดำเนินงานพื้นที่เปิดโล่งที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคือการ ไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการเชื่อมต่อพื้นที่เหล่านี้ เพื่อเลี่ยงการจราจรที่ไม่จำเป็นผ่านตัวอาคาร ซึ่งอาจเกิดจากบันได ที่วางตำแหน่งไม่เหมาะสม หรือชั้นลอยที่ออกแบบวางแผนไว้ อย่างอ่อนด้อย หรือช่องรับแสงครอบพื้นที่เปิดโล่งเพียงเพื่อ ผลทางสถาปัตยกรรม พื้นที่เปิดโล่งซึ่งเสนอความเป็นไปได้ที่ไร้ขอบเขตช่วยให้การ เตรียมรับสถานการณ์อนาคตผิดพลาดได้ยาก
ลำดับ 4. การบริหารห้องสมุดยุค Thailand 4.0 : ลักษณะห้องสมุดและการศึกษายุค thailand 4.0
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 7,137 Share
การศึกษาจึงต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย ได้เข้าก้าวสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน เช่นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เป็นหัวใจสำคัญในการสื่อสารกับนานาชาติ ทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความรู้ การประสานความร่วมมือ และการค้าขาย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการยกระดับภาษาอังกฤษของประเทศผ่านโครงการสำคัญต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาครูภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการ Boot Camp, จัดทำแอพพลิเคชั่น Echo Hybrid, Echo English เป็นต้น
ลำดับ 5. ห้องสมุดยุค 4.0 : งานบริการห้องสมุด
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 8,506 Share
หัวใจหลักของสถาบันบริการสารนิเทศ คือ การบริการที่เป็นที่น่าประทับใจ ที่เกิดจากผู้มาใช้บริการ เกิดความพึงพอใจกับผู้ใช้บริการ ส่งผลให้เกิดความเต็มใจและยินดีให้บริการตากผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดด้วยเช่นกัน เนื่องจากการบริการนั้นเป็นภาพลักษณ์แรกที่ผู้มารับบริการพบเห็นเป็นสิ่งแรก ในการเข้าใช้บริการห้องสมุดในแต่ละครั้ง การได้รับความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการหรือการมีมิตรไมตรีต่อกันนั้น ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของความความประทับใจทั้งต่อผู้ให้และผู้รับบริการนั่นเอง
ลำดับ 6. การใช้เครื่องมือ social network ในงานบริการยุคไทยแลนด์ 4.0
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 6,720 Share
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด (Library Co-operation) หมายถึง การที่ห้องสมุดตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปร่วมมือกัน เพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดจะมุ่งเน้นทางด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งงานด้านเทคนิค งานบริการ งานบริหาร ไปจนกระทั่งงานด้านทรัพยากรบุลคล เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ลำดับ 7. บรรณารักษ์ยุค Thailand 4.0 : ทักษะทางด้านภาษา
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 8,639 Share
บรรณารักษ์ควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ตลอดจนแหล่งข้อมูลต่างๆ ของประเทศอาเซียนที่น่าสนใจเพื่อสามารถแนะนำแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจให้กับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาสากล การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจึงมีบทบาทสำคัญต่อการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ยุคเสมือนจริงเป็นอย่างอื่น ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีหนังสือหรือตำราเรียนภาษาอังกฤษสำหรับ บรรณารักษ์โดยตรง เช่นเดียวกับอาชีพที่มีผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านภาษาในประเทศไทยได้เขียนตำราไว้ เช่น ภาษาอังกฤษสำหรับครู ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม ภาษาอังกฤษสำหรับช่าง อย่างไรก็ตามบรรณารักษ์นับว่าโชคดี เพราะอยู่กับแหล่งข้อมูลทั้งหนังสือหรือว่าตำราที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ
ลำดับ 8. บรรณารักษ์ยุค Thialand4.0 : ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 7,242 Share
บรรณารักษ์ผู้ที่ทำงานในห้องสมุดก็ต้องมีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถใน การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่ผู้ใช้ให้ผู้ใช้ได้สิ่งที่ต้องการมากที่สดุซึ่ง ห้องสมุดเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในโลกของยุคเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะต้องมีการพัฒนาไป พร้อมกันทั้งระบบงานของห้องสมุดและตัวบรรณารักษ์เอง เราจึงต้องทำตัวเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ให้เข้า กับยุคสมัยและทันต่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไปความรคู้วามสามารถของบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ กลายเป็นประเด็นสำคัญ ของวิชาชีพสารสนเทศในยุคปัจจุบัน
ลำดับ 9. บริการสารสนเทศในยุค Thailand 4.0 , ประเภทของบริการสารสนเทศ
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 8,157 Share
งานบริการสารสนเทศ ถือเป็นหัวใจของการดำเนินงานของสถาบันบริการสารสนเทศ เนื่องจากงานบริการจัดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ในการอ่าน การค้นคว้าและวิจัย บริการที่สถาบันบริการสารสนเทศแต่ละแห่งจัดขึ้นอาจแตกต่างกันไปตามลักษณะและความพร้อมของสถาบัน ซึ่งมีทั้งบริการพื้นฐาน บริการพิเศษและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ลำดับ 10. ความรู้เกี่ยวกับบริการห้องสมุดไทยแลนด์ 4.0
เผยแพร่เมื่อ 28-09-2017 ผู้ชม 8,311 Share
ความรู้เกี่ยวกับบริการห้องสมุดไทยแลนด์ 4.0
ไทยแลนด์ 4.0 หมายถึง โมเดลการพัฒนา ประเทศไทย 4.0: มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ และสร้างโอกาสสู่ “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม” (Value-Based Economy) จากการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และปรับเปลี่ยนวิธีการจาก “ทำมากได้น้อย” เป็น “ทำน้อย ได้มาก” (Productivity) โดยมี “แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ 1) กลุ่มเกษตรแปรรูป อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ 2) กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3) กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและดิจิทัล 4) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง 5) กลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน
19 รายการ : 2 หน้า